วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

งานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่สู่เชียงใหม่ 2010



จังหวัดเชียงใหม่ขอเชิญนักท่องเที่ยวมาสัมผัสอากาศหนาว และร่วมนับถอยหลังต้อนรับเข้าสู่ปีใหม่ 2553 พร้อมชมกิจกรรมต่าง ๆ ในงานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่สู่เชียงใหม่ 2010 จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 – 1 มกราคม 2553 ณ ถนนท่าแพตลอดสายและบริเวณข่วงประตูท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
กิจกรรม

- การแสดงดนตรีและกิจกรรมบันเทิงต่างๆ
- การแสดงคอนเสิร์ต
- การนับถอยหลังส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่
- มหกรรมอาหารจังหวัดเชียงใหม่
- กิจกรรมถนนคนเดิน





แหล่งที่มา:1.http://talk.edtguide.com/ปีใหม่-2010-เชียงใหม่-countdown.html
2. http://www.rallythai.net/son/imagewebboard/1260205749.jpg
3.http://news.buddyjob.com/pic_news/4_17283_m.jpg

กิจกรรมในวันครูปี2553

คำขวัญ"วันครูปี 2553"
"น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที"



กิจกรรม"วันครู ปี 2553"
1. ร่วมกิจกรรมทางศาสนา ทำบุญใส่บาตรพระสงฆ์ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แกบรรดาบูรพาจารย์ผู้ล่วงลับ

2. ส่งบัตรอวยพร หรือไปเยี่ยมเยือนครูอาจารย์ที่เคยให้ความรู้อบรมสั่งสอน เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดี และแสดงความกตัญญูกตเวที
3. ร่วมพิธีบูชาบูรพาจารย์
4. ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น เช่น นิทรรศการเกี่ยวกับครู การเรียนการสอน หรือกิจกรรมการกุศลที่หารายได้สมทบกองทุนช่วยเหลือครู เป็นต้น







แหล่งที่มา:1. http://poem.meemodel.com/teacher
2. http://www.cmru.ac.th/cmrunews/uppic/icon.jpg

ประวัติความเป็นมา


ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้





การจัดงานวันครู
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. กิจกรรมทางศาสนา
2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น
ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้ รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง
(หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์




แหล่งที่มา: 1.http://www.zabzaa.com/event/teacher.htm
2.http://www.kroobannok.com/news_pic/pic/p23406920009.jpg

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

อาชีพของคนภาคใต้

อาชีพในภาคใต้มีค่อนข้างหลากหลายไปในแต่ละจังหวัด แต่ที่สำคัญได้แก่ การทำสวน มีสวนยางพาราเป็นพืชสำคัญที่สุด รองลงไปเป็นสวนมะพร้าว สวนผลไม้ ซึ่งได้แก่เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง สวนปาล์มน้ำมัน ไร่กาแฟ ส่วนการทำนาจะมีมากทางด้านชายฝั่งตะวันออกในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และบางส่วนของจังหวัดสงขลา นอกเหนือไปจาก การเกษตรกรรมทางภาคใต้มีการทำเหมืองแร่ ซึ่งทำกันในหลายจังหวัด ส่วนใหญ่เป็นการขุดแร่ดีบุก การประมงมีการทำกันตลอดชายฝั่งทะเล และมีท่าเรือประมงที่ไป จับปลาห่างจากชายฝั่ง โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกมีท่าเรือประมงที่จังหวัดระนอง และที่กันตัง จังหวัดตรัง พร้อมกับมี โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ คอยรองรับด้วย การท่องเที่ยวในปัจจุบัน กลายเป็นอาชีพที่สำคัญของ ประชากรในเกาะสมุย เกาะพงัน จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง เพราะชายฝั่งทะเลในบริเวณดังกล่าว เป็นที่ดึงดูด นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะจากต่างประเทศให้เข้ามาพักผ่อน นักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย และสิงคโปร์จะมาซื้อเสื้อผ้า เครื่องใช้ และบริโภคอาหารแปลก ๆ ที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพราะสินค้าเหล่านี้มีราคาถูกกว่าในประเทศของเขา



สวนยางของชาวใต้

แหล่งที่มา:



วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

ชนเผ่าซาไกในพัทลุง

ซาไก หรือที่หลายๆคนรู้จักและมักเรียกกันว่าเงาะป่า เป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทยและในตอนเหนือของประเทศมาเลเซียมาเป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว สำหรับในประเทศไทยซาไกใช้ชีวิตเร่ร่อนอยู่บริเวณเทือกเขาบรรทัดระหว่าง 3จังหวัด คือ พัทลุง ตรัง และสตูล
อาจกล่าวได้ว่าวิถีชีวิตของซาไกเป็นวิถีชีวิตที่ดำเนินไปเฉกเช่นมนุษย์ในยุคหิน ซึ่งยังคงพึ่งพาอาศัยธรรมชาติรอบๆตัว และผลัดเปลี่ยนแหล่งที่พึ่งพาใหม่ไปเมื่ออาหารในแหล่งเดิมร่อยหรอลง แต่ปัจจุบันแหล่งที่พักพิงซึ่งให้ทั้งพืชพันธุ์และสัตว์ป่าอันเป็นแหล่งอาหารของซาไกได้ถูกประชาชนผู้มีวัฒนธรรมอันศิวิไลกว่าอย่างพวกเรานั้นรุกรานพื้นที่พักพิงเหล่านั้นไปไม่ว่าจะเป็นโดยการบุกรุกป่าของชาวบ้านเพื่อทำสวนยางพาราและสวนผลไม้หรือการคุกคามของขบวนการลักลอบการตัดไม้เถื่อน เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวซาไกให้เลวร้ายลงเป็นอย่างมาก







แหล่งที่มา: 1. http://learners.in.th/blog/mimochka/257283
2. http://school.obec.go.th/banku_ns/kruya/view.php?topic=13
3. http://www.thaioctober.com/smf/index.php?topic=477.60


การแต่งกายของภาคใต้


การแต่งกายของชาวใต้ การแต่งกายนั้นแตกต่างกันในการใช้วัสดุ และรูปแบบโดยมีเอกลักษณ์ไปตามเชื้อชาติ ของผู้คนอันหลากหลายที่เข้ามาอยู่อาศัยในดินแดนอันเก่าแก่แห่งนี้พอจำแนกเป็น
กลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้ี้

1. กลุ่มเชื้อสายจีน – มาลายู เรียกชนกลุ่มนี้ว่ายะหยา หรือ ยอนย่า เป็นกลุ่มชาวจีน เชื้อสายฮกเกี๊ยนที่มาสมรสกับชนพื้นเมืองเชื้อสายมาลายู ชาวยะหยาจึงมีการแต่งกายอันสวยงาม ที่ผสมผสาน รูปแบบของชาวจีนและมาลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ,เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิมอยู่
2. กลุ่มชาวไทยมุสลิม ชนดั้งเดิม ของดินแดนนี้นับถือศาสนาอิสลาม และมี เชื้อสายมาลายู ยังคงแต่งกายตามประเพณี อันเก่าแก่ฝ่ายหญิงมีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อผ้ามัสลิน หรือลูกไม้ตัวยาวแบบมลายูนุ่งซิ่นปาเต๊ะ หรือ ซิ่นทอแบบมาลายู ฝ่ายชายใส่เสื้อคอตั้ง สวมกางเกงขายาว และมีผ้าโสร่งผืนสั้น ที่เรียกว่า ผ้าซองเก็ต พันรอบเอวถ้าอยู่ บ้านหรือลำลองจะใส่โสร่ง ลายตารางทอด้วยฝ้าย และสวมหมวกถักหรือ เย็บด้วยผ้ากำมะหยี่
3. กลุ่มชาวไทยพุทธ ชนพื้นบ้าน แต่งกายคล้ายชาวไทยภาคกลาง ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบน หรือ ผ้าซิ่นด้วย ผ้ายกอันสวยงาม ใส่เสื้อสีอ่อนคอกลม แขนสามส่วน ส่วนฝ่ายชายนุ่งกางเกงชาวเล หรือ โจงกระเบนเช่นกัน สวมเสื้อผ้าฝ้ายและ มีผ้าขาวม้าผูกเอว หรือพาดบ่าเวลาออกนอกบ้านหรือไปงานพิธี



แหล่งที่มา:http://www.thainame.net/weblampang/fourthai/page2/sount.html

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสกลนคร

ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านนาผาง ตำบลกกปลาซิว ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 38 กิโลเมตร ภูผายลเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ ในบริเวณนั้นมีภาพแกะสลักบนหน้าผาหินเป็นรูปภาพต่าง ๆ แสดงชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ที่ใช้ของแข็งขูดขีดลงบนหน้าผา เช่น ภาพสัตว์ คน ไร่นา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีธรรมชาติรอบข้างเป็นป่าเขาที่สวยงาม
การเดินทางจากตัวอำเภอเต่างอยไปตามเส้นทางสายอำเภอเต่างอย-ศรีวิชาไป 5 กิโลเมตร แวะเข้าสู่บ้านม่วง-นาอ่าง และเดินทางต่อผ่านบ้านโพนบก-โพนแพง และบ้านนาผางตามลำดับ รวมระยะเส้นทางประมาณ 35 กิโลเมตร ก่อนถึงภูผายล จากบ้านนาผางขึ้นไปจะเป็นถนนลาดยางจนถึงหน้าผาหิน และมีบันไดขึ้นสู่หน้าผายอดเขา ตามระยะทางสามารถแวะพักตามจุดชมวิว ซึ่งมีก้อนหินทรายตั้งวางเป็นระยะ บางแห่งรูปคล้ายเพิงพักหรือแท่นที่นั่ง


แหล่งที่มา:http://www.esanclick.com/newses.php?No=3945

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสกลนคร

ตั้งอยู่ในวัดป่าสุทธาวาส การเดินทาง ไปตามถนนสุขเกษมจนถึงศูนย์ราชการจังหวัดมีทางแยกซ้ายไปอีกประมาณ 250 เมตร ตัวพิพิธภัณฑ์มีลักษณะการก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ประยุกต์ สร้างด้วยกระเบื้องดินเผา ภายในพิพิธภัณฑ์มีรูปหล่อเหมือนองค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ในท่านั่งสมาธิ และมีตู้กระจกบรรจุอัฐิของท่านที่แปรสภาพเป็นแก้วผลึกใสสีขาว ยกฐานสูงพื้นปูด้วยหินอ่อน พร้อมทั้งตู้แสดงเครื่องอัฐบริขาร รวมทั้งประวัติความเป็นมาของท่านตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว ที่ตำบลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี และอุปสมบทเมื่ออายุ 22 ปี ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเป็นพระที่ยึดมั่นในปฏิมาธุดงด์กรรมฐานเป็นวัตร มีพระในสายเดียวกับท่านอีกหลายองค์ที่ได้เข้ามาปฏิบัติ และฝึกวิปัสสนากรรมฐานตามแนวของท่าน เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ขาว อาลนาโย หลวงปู่แหวน สุจินต์โน เป็นต้น ต่อมาท่านได้ย้ายจากการธุดงค์กรรมฐานเข้ามาจำพรรษาที่วัดป่าสุทธาวาส และมรณภาพเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 นอกจากนั้นยังมี พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ตั้งอยู่ในวัดป่าสุทธาวาส สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุหลวงปู่หลุย (2444-2532) ซึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่สายวิปัสสนา ศิษย์ของพระอาจารย์มั่น หลวงปู่หลุยเป็นผู้ที่มีปฏิปทาชอบจาริกไปในที่ต่าง ๆ จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตท่าน เมื่อท่านมรณภาพและพระราชทานเพลิงศพแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชกระแสว่า “ควรสร้างเจดีย์ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ที่วัดนี้มีอัฐิธาตุของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านจะได้อยู่ใกล้กัน” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ร่างแบบเจดีย์องค์นี้ด้วยพระองค์เอง

แหล่งที่มา:http://sites.google.com/site/esancountryhouse/meuxng-sklnkhr